โรงเรียนตันหยงมัสตั้งขึ้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2504 เปิดทำการสอนแบบสหศึกษาชั้น ม.ศ. 1 กรมสามัญศึกษา ได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนตันหยงมัส ในตอนแรกได้อาศัยโรงเรียนระแงะเป็นที่ทำการสอน จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 20 คนโดยมีนายยงยุทธ มุณีแนม ศึกษาธิการอำเภอระแงะ ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ ต่อมานายวัชระ สิงคิวิบูลย์ นายอำเภอระแงะในสมัยนั้น ได้ยกที่ดินราชพัสดุซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอระแงะ มีเนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนตันหยงมัส ทางจังหวัดนราธิวาสจึงได้ย้ายนายสนิท บุญเพิ่ม ครูตรีโรงเรียนนราธิวาสมาทำการสอนประจำที่โรงเรียนตันหยงมัส และได้บรรจุนางสาวชมนาถ ไพบูลย์สมบัติ มาทำการสอนที่นี่ นอกจากนี้ยังมีนายศิริศักดิ์ ชาทอง ครูใหญ่โรงเรียนระแงะ นายประเจียด สกุลขำ นางบุญถิ่น พูลเพิ่ม ครูโรงเรียนระแงะมาช่วยทำการสอนด้วย 27 พฤศจิกายน 2504 จังหวัดนราธิวาสมีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายสนิท บุญเพิ่ม เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ตรีโรงเรียนตันหยงมัส
ปีงบประมาณ 2505 เปิด เปิดขยายชั้นเรียนเป็น 3 ห้องเรียน มีชั้น ม.ศ. 1 จำนวน 2 ห้องเรียน ชั้น ม.ศ. 2 จำนวน 1 ห้องเรียนโดยอาศัยอาคารเรียนโรงเรียนระแงะเป็นห้องเรียน
ปีการศึกษา 2506 ขยายชั้นเรียนจาก ม.ศ.1 - ม.ศ. 3 โดยยังคงอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนระแงะเป็นห้องเรียนปีงบประมาณ 2506 กรมสามัญศึกษาให้งบปลูกสร้างอาคารเรียนในที่ดินราชพัสดุที่ทางอำเภอระแงะยกให้ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนตันหยงมัสในปัจจุบันนี้อาคารเรียนโรงเรียนตันหยงมัสหลังแรกสร้างเสร็จในเดือน สิงหาคม 2506 จึงได้ย้ายจากโรงเรียนระแงะมาอยู่ในที่ปัจจุบัน
ปีการศึกษา 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่จาก 7:3:2 เป็น 6:3:3
ปีงบประมาณ 2509 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานอุตสาหกรรมศิลป์
ปีงบประมาณ 2512 ได้รับการปรับปรุงตามโครงการ ค.ม.ส. 2 และได้รับงบประมาณ ก่อสร้างอาคารเกษตรกรรม
ปีงบประมาณ 2513 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงอาหาร หอประชุมไม้อาคารคหกรรมไม้
ปีงบประมาณ 2514 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก
ปรัชญา สุวิชา สุพพโต (เรียนดี ประพฤติดี)
พันธกิจ / เป้าหมาย |
1. พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน จบตามหลักสูตรและได้มาตรฐานสากล
2. บริหารทางวิชาการ พัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน โดยไม่กระทบต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม นำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
4. พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและให้ผู้เรียนสามารถอ่าน คิด
วิเคราะห์ได้
5. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาค
ส่วน
6. เตรียมรองรับการกระจายอำนาจ และส่งเสริมความเข้มแข็งในสถานศึกษา
7. พัฒนาระบบบริหารจัดการ เน้นการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ใช้โรงเรียนเป็นฐานและการมีส่วนร่วม
8. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโรงเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนสม่ำเสมอ
9. ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของบุคลากร
10. สนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากร นักเรียนและชุมชน
11. สนับสนุนการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
12. นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น