ใบงานที่ ๑
เรื่องการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
เรื่องการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
คำชี้แจง
๑.
ใบงานเรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียน
เรื่อง การเขียนเรียงความ ในวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มุ่งเน้นผลงานการเขียนเรียงความเชิง
สร้างสรรค์
เรื่อง การเขียนเรียงความ ในวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มุ่งเน้นผลงานการเขียนเรียงความเชิง
สร้างสรรค์
๒.
ให้นักเรียนอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดในใบงาน
และปฏิบัติตามขั้นตอนของการปฏิบัติงานในกิจกรรม
นี้ให้ละเอียด ครบถ้วน และปฏิบัติโดยเคร่งครัด
นี้ให้ละเอียด ครบถ้วน และปฏิบัติโดยเคร่งครัด
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
๑.
ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเรียงความ
๒.
ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง เทคนิคการเขียนเรียงความ
๓. แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมที่ผู้สอนเตรียมให้ในเว็บบล็อก
๔.
แหล่งความรู้เพิ่มเติมที่ผู้เรียนสืบค้นเพิ่มเติมด้วย Google
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
๑. ให้นักเรียนเขียนเรียงความโดยการโพสต์ลงในเว็บบล็อกของผู้สอน
ที่อยู่เว็บบล็อก คือhttp://......blogspot.com โดยให้นักเรียนเลือกขอบข่ายเนื้อหาและกำหนดชื่อเรื่องเรียงความ
ให้เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสามจังหวัดชายแดนใต้ (ยะลา ปัตตานี หรือนราธิวาส) โดยใช้ขอบข่ายเนื้อหาในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
ดังนี้
- วิถีชีวิตหรือการประกอบอาชีพ
- ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หรือตำนาน เรื่องเล่า
- ประเพณีหรือศิลปวัฒนธรรม
- โบราณสถาน โบราณวัตถุ
- แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
โดยเลือกเขียนเรียงความเพียงเรื่องเดียว
จากขอบข่ายหัวเรื่อง เช่น กำหนดชื่อเรื่อง
“มัสยิดกรือเซะ
แหล่งท่องเที่ยวศาสนสถานคู่เมืองปัตตานี”
“น้ำตกทรายขาว
แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติชายแดนใต้” ฯลฯ
๒. ส่วนประกอบของเรียงความ ต้องประกอบด้วย ส่วนนำ
เนื้อหา สรุป ตามหลักการเขียนเรียงความ
ที่ดี และต้องตรวจสอบการใช้คำให้ถูกต้อง
ที่ดี และต้องตรวจสอบการใช้คำให้ถูกต้อง
๓. ส่วนประกอบของบทนำ เนื้อหา สรุป สามารถแทรกภาพ
วีดิทัศน์ หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้องและจัดวางให้เหมาะสมและสวยงามได้
๔.
ในส่วนท้าย (ต่อจากสรุป)
ให้แสดงแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งค้นคว้าที่มาของข้อมูลหรือภาพที่ศึกษามา ดังตัวอย่าง
- แหล่งอ้างอิง
๕. การโพสต์เรียงความ ให้นักเรียนกำหนดป้ายกำกับ
(Tag)ประกอบด้วยคำสำคัญแยกเป็นจังหวัด
ได้แก่ ยะลา หรือ ปัตตานี หรือ นราธิวาส
และแยกเป็นประเด็นของเรื่องเรียงความ เช่น วิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน
โบราณวัตถุ (สามารถมีมากกว่า 1 ป้ายกำกับได้ในแต่ละเรื่อง)
๖.
เมื่อผู้สอนตรวจประเมินผลงานเรียงความแต่ละครั้งแล้ว
ให้ผู้เรียนปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของผู้สอนภายใน ๑ สัปดาห์ (ให้พิจารณาคะแนนและข้อเสนอแนะของผู้สอนที่เสนอไว้ต่อท้ายเรียงความ)
๗.
กรณีมีปัญหาให้สอบถามผู้สอนผ่านอีเมลคือ ……….@gmail.com หรือFacebook ของรายวิชา
ครั้งที่ ๑ ภายในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ครั้งที่ ๒ ภายในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ (ปรับตามข้อแนะนำของผู้สอนครั้งที่
๑)
ครั้งที่ ๓ ภายในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ (ปรับตามข้อแนะนำของผู้สอนครั้งที่ ๒)
เกณฑ์การประเมินคะแนน (คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน)
ประเด็นการประเมิน
(องค์ประกอบ)
|
เกณฑ์การให้คะแนน
|
||||
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
|
๑. ชื่อเรื่องและการวางโครงเรื่อง
|
ชื่อเรื่องไม่เหมาะสม และวางโครงเรื่อง
ไม่เหมาะสม
|
ชื่อเรื่องพอใช้ และวางโครงเรื่องไม่เหมาะสม
|
ชื่อเรื่องดี และวางโครงเรื่องพอใช้
|
ชื่อเรื่องเหมาะสมและวางโครงเรื่องได้ดี
|
ชื่อเรื่องเหมาะสมและวางโครงเรื่องได้ดีมาก
|
๒. การเขียนคำนำ
|
คำนำมาก หรือน้อยเกินไป
|
มีคำนำ แต่ไม่มีเอกภาพ
|
มีคำนำ มีเอกภาพพอสมควร
|
มีคำนำ มีเอกภาพเหมาะสมดี
|
มีคำนำ มีเอกภาพดีมาก
|
๓. การเสนอเนื้อเรื่อง
|
เนื้อหาไม่น่าสนใจ และไม่เป็นลำดับและไม่สมบูรณ์
|
เนื้อหาน่าสนใจ
นำเสนอเรื่องไม่เป็นลำดับและไม่สมบูรณ์
|
เนื้อหาน่าสนใจ นำเสนอเรื่องได้ดี
แต่เนื้อหาไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์
|
เนื้อหาน่าสนใจ นำเสนอเรื่องได้ดี เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ดี
|
เนื้อหาน่าสนใจ นำเสนอเรื่องได้ดี
เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ดีมาก
|
๔. การสรุปเรื่อง
|
ไม่มีส่วนสรุปเรื่อง
|
มีส่วนสรุปเรื่อง แต่ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา
|
มีส่วนสรุปเรื่อง สอดคล้องกับเนื้อหาน้อย
|
มีส่วนสรุปเรื่อง สอดคล้องกับเนื้อหาดี
|
มีส่วนสรุปเรื่อง สอดคล้องกับเนื้อหาดีมาก
|
๕. การใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
|
ภาษาที่ใช้มีภาษาพูดจำนวนมาก และ
มีคำผิดจำนวนมากและไม่สละสลวย
|
ภาษาที่ใช้มีภาษาพูดแทรกอยู่ด้วย
และมีคำผิดอยู่บ้างและไม่สละสลวย
|
ภาษาที่ใช้มีสำนวนโวหารบรรยาย
แต่ยังไม่น่าสนใจมีคำผิดอยู่บ้าง
|
ภาษาที่ใช้มีสำนวนโวหารบรรยาย
พรรณาได้อย่างน่าสนใจมีคำผิดน้อยมาก
|
ภาษาที่ใช้มีสำนวนโวหารบรรยาย
พรรณาได้อย่างน่าสนใจมาก ไม่มีคำผิด
|
๖. การมีเอกภาพสัมพันธภาพของเรื่อง
มีภาพหรือวีดิทัศน์ที่ใช้สัมพันธ์กับเนื้อหา
|
ไม่มีเอกภาพ ไม่มีสัมพันธภาพ
|
ไม่มีเอกภาพ ไม่มีสัมพันธภาพ แต่
มีภาพหรือวีดิโอแทรกในเรียงความ
|
ย่อหน้ามีเอกภาพ มีสัมพันธ์ภาพ
อยู่บ้าง มีภาพหรือวีดีโอแทรกในเรียงความ
|
ย่อหน้ามีเอกภาพ มีสัมพันธ์ภาพดี
มีภาพหรือวีดีโอแทรกในเรียงความเหมาะสมกับเนื้อหา
|
มีเอกภาพ มีสัมพันธ์ภาพดี
มีภาพหรือวีดีโอแทรกในเรียงความเหมาะสมกับเนื้อหาดีมาก และน่าสนใจมาก
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น